Since its early days the Cyberspace, or what is called the electronic frontier, has often been compared to New America.

In his essay “Settlers, Indians, and the Cavalry, or: How to Subvert Electronic Identities”, Oliver Marchart refers to this as: An always receding horizon/frontier which has to be discovered and at the same time protected in its untouched innocent state. …… it won’t surprise that we can observe the revival of social roles/characters/personae such as that of the cowboy, anarchists and terrorists, liberals, Indians or the United States Cavalry.[1]

Marchart, however, brings about the argument of why this new America is yet unapproachable. Citing Stanley Cavell for one of the answers he says, ““It is unapproachable if he (or whoever belongs there) is already there (always already), but unable to experience it, hence to know or tell it; or unable to tell it, hence to experience it.” Cavell touches with this passage at something we could call the logics of the always already, which is central in any meaningful conceptualization of the discovery of new continents.”

Since its emergence in early 1990s, different people – and here we want to talk particularly about writers, artists and activists – have tried to “experience” the electronic frontier in full, and “tell it” in different modes and manners. The 5th Womanifesto is one such occasion. The organizers, Varsha Nair and Katherine Olston, invited fellow artists to contribute to an on-line project, to tell about “No Man’s Land”. Hence this raises multiple questions: what is No Man’s Land, what is virtual space, and what is No Man’s Land in virtual space? Some try to tell about No Man’s Land using the cyberspace, and some use No Man’s Land as a metaphor to tell about cyberspace or vice versa, and some try to tackle multiple questions.

Taking “New America” as a metaphor. Barbara Lattanzi reconstructs the Western movie “The Invaders”, made in 1912 by Thomas Ince, about the building of transcontinental railways. The movie, set in the 1860s, tells the parallel stories of Native Indians and European settlers, “the Invaders”. Lattanzi sampled 20 frames from each minute of Ince’s 40-minute film and extended each sampled minute to one hour. By doing so, this project entitled “Optical De-dramatization Engine (O.D.E.) applied in 40-hour cycles to Thomas Ince’s The Invaders 1912”, invites viewers to experience and expose themselves to a time when everybody shared the romantic dream of potentiality of a new continent, and to all the characters of the new frontier: the cowboys, anarchists and terrorists, liberals, Indians and the United States Cavalry, in an uniquely cyber manner.

In a message on Womanifesto’s web-board, Lattanzi describes the film as, “a romance between a native-American woman and a European-American surveyor for the transcontinental railroad is the basis for the drama. …. the film helps to produce a context in which the engineering of geographical connection is perceived to fundamentally depend upon the enforced condition of social and cultural separation.”[2] This “engineering of geographical connection” has had totally different significance in different geopolitical contexts. In the ensuing discussion also posted on the web-board, other participants of this web project speak of different memories in connection to the building of railways on their home soils. For Dragana Zarevac from former Yugoslavia, it is associated with Tito’s ideology of utilizing constructive force of enthusiastic youth to re-build the nation after World War II, and to construct a so-called “brotherhood and unity” among the Yugoslavian states. “Two famous rail-roads were built that way, mainly in Bosnia: Samac – Sarajevo and Brcko – Banovici. All the participants I’ve met talk about those actions as of the great experience of their life. Many mixed marriages (generation of my parents) have also started during those working days. The main road of Yugoslavia, which is also called “brotherhood and unity” road (Ljubljana – Skopje via Zagreb, Belgrade and Nis) was mainly constructed using ‘youth actions’ too.”[3] Whereas, for Nilofar Akmut, from Pakistan, building of railways as far as humanity is concerned, was far more destructive than constructive. Re-construction of railways started to take place around 1947 when the partition of the Indian subcontinent started to unfold. As many as 5 million refugees moved in both directions and much was witnessed on the railways – “My mother’s family was on one of those enumerable trains where the sleepers were removed in order to rape and murder the human cargo which was moving in either direction to carve out two Nations.”[4] And for people in South East Asia building of a railway is inscribed as a ‘road to death’. It is taught as such in school textbooks and refers to the Japanese army’s use of an array of prisoners of war during World War II. This is presented in the form of a drama in the 1957 film, “The Bridge on the River Kwai”.

“Engineering geographical connection” that has thus taken place with millions of human dramas, connected a Man’s Land to another Man’s Land, and a No Man’s Land to a Man’s Land. Before, it was railways, now it is airplanes, GPS, satellites, and the Internet that secure the geographical connection. So who are these new cowboys, anarchists, Indians and the state cavalry?

Take another intelligent experimental work, “Blood and Sand” by atelier thingsmatter. In this work, the horizon of the ‘electronic’ frontier becomes visible via mirage-like pigments, which start as abstract and blurry patches of colors and later appear as different scenes from different days of CNN’s news broadcasts featuring Christiane Amanpour. The scenes, of this well-known woman TV journalist, are reports about war zones from around the world and at the end of a short journey of tricking our perception, “Blood and Sand” creates a complex layering of the notion of No Man’s Land (while it works on “interrelated phenomena of human perception, communication design, cultural difference, gender roles, media politics, video technology, and fashion” according to the artists’ statement).

When the Texan cowboy, Ted Turner created CNN in 1980 it was seen as a total pioneering work by this leader of a new generation of visionaries. His was an American success story. The invention opened up borders and limits hence lifting up “the enforced condition of social and cultural separation”, and never ceasing to catch people’s imagination on “finding yet another undiscovered frontier”. Although, this role would ultimately make the inventor or an explorer an invader, as there is “always already” in some form at the opposite end, either as a physical or psychological phenomena.

Looking at the participating projects for the 5th Womanifesto, people interpret “No Man’s Land” in diverse ways, and the notions are roughly characterized as follows:

No Man’s Land as an allegory of an existing nation, a space between nations, or a political no man’s land: the Berlin Wall (John Hopkins, Karla Sachse, Susane Ahner); Burma-Thai border (Prevett and McArthur); Israeli-occupied territory in Palestine (Orly Dahan); Kashmir (Kash Gabriele Torsello); India (Tejal Shah), south bank of the Chang Jiang or Yangtze River (Jerome Ming); former Yugoslavia (Renata Poljak).

The situation of bare life: Estelle Cohenny-Vallier, Mona Burr, Irene Leung.

Finding No Man’s Land in a daily scene or a landscape. As Doris Hinzen-Roehrig states in the text related to her work, “What happens when suddenly we become aware of this other world, when we discover things, which always existed but which we never recognized as such before?”: Ana Bilankov, Andrew Burrell, Trupti Patel, Varsha Nair, Wen Yau, Patricia Reed, Sara Haq.

Animal kingdom, man-made animal kingdom or animal kingdom in the mind of humans: Manit Sriwanichpoom , Hsu Su-Chen.

A medium itself is No Man’s Land: Noor Effendy Ibrahim – theater, Lawan Jirasuradej – a 16 mm film.

Creating a mirrorscape to No Man’s Land: Man’s Land. In this Man’s Land a window opens with an elderly woman announcing, “A King is Born!” (Renata Poljak); via blinks (Marketa Bankova); and as a paradox about the use of women – women being conscripted in the army or for sexual slavery by the army (Yoshiko Shimada). In Dragana Zarevac’s “radar pieu”, a woman’s body becomes a radar that controls the air of a man’s land where a man’s obsession of machines overpowers daily necessities.

Limbo as No Man’s Land: Liliane Zumkemi. (Attention! The Vatican is mulling over prohibiting the notion of “limbo” from the Catholic Church. Hence in the future it can exist only in literature and art).

No Man’s Land in the religious sphere: Shane Solanki – the miraculous stage as a no man’s land, in this case, walking on water.

As for me, when I hear the word “No Man’s Land”, the first thing that comes to my mind is the sound sphere (the entering point to the No Man’s Land web project itself starts with a break down of the title into phonetics). In my essay “History Acoustic” written in 2000, I wrote about the various phenomena related to sound, and the potential of sound as “the constitution of space”.

In order to explain what today’s broadcasting is, Jody Berland notices that it is “like music, in part about the constitution of space.” * More specifically, “in establishing territoriality, there was sound long before there were fences.”

“They (*sound-related phenomena) all momentarily occupy the space, defining, re-defining and de-defining themselves. “The definite” definition cannot afford to be in. Supposedly receiver of information, a reader or a listener, is actually an active constructor of information. This can be called the constitution of space. The potential implication of constitution of space thus is enormous. It goes well beyond the sphere of sound but can be applied in philosophical, political and social spheres. Internet occupies the curious position in this case. It will serve as the field to exercise the constitution of space. The digital technology thus is neither answer nor solution to the eschatological question, but a maneuvering tool.”[5]

Two projects caught my attention in this light. “Patriotic Pups” by Katherine Olston and Sue Hajdu is a performance piece. The performers act as dogs wearing national flags, and go woof woof. “Winter”, by Terry Berkowitz shows only one everyday scene of winter in New York. In the background of the image is a building with the U.S. flag on top. Over this image we hear the artist and a child singing “God Bless America” in an extremely out-of-tune way. As the song proceeds the camera focuses more and more on the U.S. flag that becomes the center of the image in the end.

These two videos are in some way protest pieces. And the protest part is generated in a form of onomatopoeia in the dog performance, and in the out-of-tune singing in “Winter”. Creating or pronouncing onomatopoeia, a translation of sound into a human language and a human concept or a feeling into sound, is a curious human activity that requires one to be in a child-like mental stage and with the intelligence of an adult. One Linguistic theory regards this as the origin of language – onomatopoeia draws our primitive sense of expression and throws us back to the stage where words are not conceptually defined. By the same token, when a sound is out of tune it is in a unique situation. A tune is usually created to define human’s ability to perceive certain messages of a composer, and that means to have an ability to communicate. Therefore when sound is out of tune, the sound, which is not accepted by humans, flies around trying to find a place to go. This stage is like a limbo for sound. These territories that human beings haven’t managed really to examine and define yet offer tremendous potential in creative activities. In these two works, the artists have found them to be useful as powerful message-giving tools. The practice is both – a cultural challenge and bliss.

Discovering No Man’s Land, geographically or psychologically, pondering on how to use it for which purpose, and creating and engineering (geographical or psychological) connections between one No Man’s Land to another, is a task that artists and writers must continue to pursue even after this project. Otherwise, who else will collect these enormous amounts of human dramas that have come to rise when people have tried to find a connection to it?

[1] “Settlers, Indians, and the Cavalry, or: How to Subvert Electronic Identities”, Oliver Marchart, ZKP3@Metaforum 3
[2] Womanifesto webboard, 18/07/06
[3] Womanifesto webboard, 18/07/06
[4] Womanifesto webboard, 17/07/06
[5] “History Acoustic” first published in the exhibition catalogue “The End of the World?”2000, National Gallery Prague, and reprinted in “Konecna Krajina”, One Woman Press, 2004

ตามล่าหาโนแมนส์แลนด์

นักเขียน : เคโกะ เซอิ

แปล : ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ

ตั้งแต่เริ่มกำเนิดเขตแดนทางอีเลคทรอนิกที่เรียกกันว่าไซเบอร์สเปซ เขตพื้นที่นี้ก็ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นเช่นเดียวกับ ดินแดน อเมริกาใหม่

จากบทความของโอลิเวอร์ มาร์ชาร์ท เรื่อง ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ชาวเผ่าอินเดียน และ ทหารม้า ที่กล่าวว่า

ขอบเขตและน่านฟ้าของพรมแดนนี้นับวันก็ยิ่งจะหดเล็กลงไปทุกที แต่ก็ยังมีที่ที่เราต้องเข้าไปสำรวจค้นพบอีก และก็ต้องพิทักษ์ปกป้องคงความบริสุทธิ์ไว้จากการครอบงำรุกรานของมนุษย์ไป ด้วยในขณะเดียวกัน ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะเห็นการฟื้นคืนชีพของบทบาททางสังคมแบบบุคคลิกตัว ละครที่คนแสดงตัวตนออกมาเป็น พวกคาวบอย พวกปฎิเสธกฎหมายที่บูชาลัทธิอนาร์คิส ผู้ก่อการร้าย พวกเสรีนิยม อินเดียนแดง หรืออย่างที่เห็นในบทบาทของทหารม้าอเมริกา

ซึ่งทำให้มาร์ชาร์ท ไปจุดประด็นคำถามที่ต้องถกกันอีกว่า ทำไม อเมริกาใหม่ ที่ว่านี้ยังมีที่เราเข้าไปไม่ถึงด้วยอีกหรือ หนึ่งในคำตอบของเขาก็โดยการอ้างคำพูดของ สแตนลีย์ คาฟเวลล์ ที่ว่า “ที่เข้าได้ไม่ถึงนั้น ก็เพราะคนอยู่ที่มาจากที่นั่น (อยู่ตรงนี้ไปแล้ว) แต่ไม่ได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่จะรู้หรือนำไปบอกเล่าสู่กันได้ หรือเมื่อเป็นพวกที่บอกเล่าให้ฟังกันไม่ได้ก็ต้องไปประสบพบเห็นมาเสียก่อน” ประเด็นนี้คาฟเวลล์ บอกว่าเราอาจจะเรียกแนวคิดนี้ว่า ตรรกแห่งการอยู่ตรงนี้ไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญเลยของวิธีคิดเกี่ยวกับการค้นพบดินแดน ใหม่ทั้งหลาย

นับแต่เริ่มต้นกำเนิดเขตแดนอีเล็คทรอนิกในทศวรรษเก้าสิบ บุคคลต่างๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึงนักเขียน ศิลปิน และนักต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ทั้งหลาย ต่างก็พยายามเข้าไปทำการ ประสบ กับพรมแดนอีเลคทรอนิค ตรงนี้อย่างเต็มตัว และนำมา บอกเล่า ด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆนาๆ วูแมนนิเฟสโต ถ้อยแถลงหญิง ครั้งที่ห้านี้ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่เปิดวาระนี้ขึ้นมา ผู้จัดโครงการณ์ วาร์ชา แนร์ ร่วมกับ แคธรีน โอลสตัน ได้เชิญเพื่อนๆศิลปินให้ส่งผลงานเข้ามาแสดงในโครงการนิทรรศการออนไลน์ครั้ง นี้ ด้วยการใช้พรมแดนอีเล็คทรอนิกไซเบอร์สเปซนี้บอกเล่าเรื่องโนแมนส์แลนด์ ก่อให้เกิดประเด็นคำถามต่างๆผลุดขึ้นมาอีกมากมาย เช่นว่า อะไรคือพื้นที่ของโนแมนส์ แล้วอะไรคือพื้นที่จริงที่มีอยู่ และดินแดนของโนแมนส์ จะอยู่ ณ จุดใหนของพื้นที่ตรงนี้ บางคนก็ใช้ไซเบอร์สเปซเป็นพื้นที่ในการบอกเล่าเรื่องราวโนแมนส์แลนด์ บ้างก็ใช้วิธีเปรียบเทียบในความหมายของโนแมนส์แลนด์ เพื่อเป็นการเล่าเรื่องไซเบอร์สเปซหรือกลับกันโดยเปรียบพื้นที่ไซเบอร์สเปซ เพื่อเล่าเรื่องโนแมนส์แลนด์ ในขณะที่อีกหลายคนพยายามที่จะตีความโจทย์เป็นปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก

ศิลปิน บาร์บาร่า ลาทแทนซี ใช้วิธียกเรื่องราวเปรียบเทียบเรื่อง อเมริกาใหม่ โดยการนำหนังเก่ามารื้อและประกอบใหม่ เขาใช้หนังลูกทุ่งตะวันตกของอเมริกาเรื่อง ผู้บุกรุก กำกับโดย ผู้กำกับ ธอมัส อินเค เมื่อปี ๑๙๑๒ เป็นเรื่องการสร้างรถไฟสายเชื่อมทวีป ในหนังย้อนไปในปี ๑๘๖๐ เล่าเรื่องราวของคนพื้นเมืองชาวอเมริกันอินเดียน ควบคู่กันไปกับเรื่องราวของผู้มาตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวยุโรปซึ่งเป็นผู้บุกรุก จากหนังความยาว ๔๐ นาที บาร์บาร่า แลแทนซี่ เลือกเอาตัวอย่างยี่สิบเฟรมจากทุกๆนาทีของในหนัง เสร็จแล้วก็นำตัวอย่างที่คัดมาหนึ่งนาทีนี้มายืดขยายเวลาออกไปให้เป็นหนึ่ง ชัวโมง ตั้งชื่องานนี้ว่า เครื่องมือลดบทบาทการละครทางสายตา (โอ.ดี.อี. Optical De-dramatization Engine) เสริมรอบความยาเป็น ๔๐ ชั่วโมงในหนัง เรื่อง ผู้บุกรุก ของธอมัส อินเคปี ๑๙๑๒ การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการเชิญคนดูให้เปิดตัวเองเข้าไปอยู่ในเวลาแห่งความ ฝันอันสวยงามถึงดินแดนทวีปใหม่ อันเต็มไปด้วยความความหวังใหม่ และได้เข้าไปสัมผัสกับตัวละครที่อยู่ในหลักเขตดินแดนใหม่นี้ด้วยก็คือพวก คาวบอย พวกลัทธิปฎิเสธกฎหมายอย่างอนาร์คิส ผู้ก่อการร้าย เสรีนิยม อินเดียนแดง หรือ พวกทหารม้าในอเมริกา และวิธีการทางไซเบอร์ที่ไม่เหมือนใคร

ในถ้อยแถลงของศิลปินบนเวปบอร์ดของ วูแมนนิเฟสโต แลแทนซี่ เล่าว่าเค้าโครงหลักของหนังเรื่องนี้เป็น เรื่องราวความรักระหว่างหญิงชาวเผ่าอเมริกัน กับนักสำรวจชาวยุโรปอมริกันที่มาสำรวจทำการตัดเส้นทางรถไฟสายเชื่อมทวีป ในหนังทำให้เกิดบริบทที่เน้นใหเห็นว่า การก่อสร้างทางวิศวกรรมเพื่อเชื่อมพื้นที่ทางภูมิภาคนี้ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีเงื่อนไขของความแตกต่างทางสังคมและทางวัฒนธรรมมาเป็น ตัวผลักดัน

หากแต่ งานวิศวกรรมในการเชื่อมต่อกันทางภูมิศาสตร์ นี้ กลับแสดงบทบาทที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงเมื่ออยู่ในบริบทของพื้นที่ทางการ เมืองที่ต่างกันออกไป ซึ่งทำให้มีการเปิดประเด็นคำถามกันต่อมาทางเวบบอร์ดของ วูแมนนิเฟสโต ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการณ์ต่างก็บอกเล่าให้กันถึงประสบการณ์ในความทรงจำ ของตนเองที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟบนผืนแผ่นดินบ้านเกิดของ เขาเอง ดรากานา ซาเรวัค จาก ยูโกสลาเวียเดิม บอกว่าเธอนึกย้อนไปถึงอุดมการณ์ของติโต้ที่นำพลังงานการสร้างสรรค์ของคน หนุ่มสาวที่ยังไฟแรงมาใช้ประโยชน์เป็นพลังพลิกฟื้นบ้านเมืองหลังความหายนะ ที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่สองมีชื่อว่า แนวร่วมน้องพี่สมานฉันท์ ตามรัฐต่างๆของยูโกสลาเวีย อย่างน้อยก็มีทางรถไฟที่สร้างขึ้นมาด้วยวิธีนี้สองสายตรงช่วงตรงดินแดน บอสเนีย ซามาค ซาลาเจโวและ บรอกโน บาโนโวซิ ผู้ร่วมโครงการณ์ที่ดิฉันได้พูดคุยด้วยบอกว่าตรงนี้ถือเป็นประสบการณ์เป็น ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว การแต่งงานข้ามเชื้อชาติก็เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลานี้เช่นกัน (โดยเฉพาะในรุ่นสมัยของพ่อแม่ของดิฉัน) และถนนสายหนึ่งในยูโกสลาเวียก็ยังได้รับการตั้งชื่อว่าถนนน้องพี่สมานฉันท์ สร้างจากพลังหนุ่มสาวรุ่นนี้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับ นิโลฟาร์ อาคมุต การสร้างทางรถไฟกลับนำมาซึ่งความวินาศของมวลมนุษย์มากกว่าจะเป็นการ สร้างสรรค์ ในระหว่างการรื้อฟื้นการก่อสร้างทางรถไฟที่เริ่มขึ้นใหม่ในปี ๑๙๔๗ ทำให้เกิดเหตุการณ์การแบ่งแยกดินแดนในเขตพื้นที่ทวีปอินเดียที่ผลุดขึ้นมา เป็นระลอกๆ เกิดการอพยพเดินทางของมวลมนุษยชาติเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผู้คนกว่าห้าล้านคนต่างย้ายที่สวนทางกันจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งทั้งสอง ทิศทาง โดยมากใช้การเดินทางบนเส้นทางรถไฟที่ปลายทางทั้งสองถูกแบ่งแยกออกเป็นสอง ขั้ว ครอบครัวฝ่ายแม่ของฉันก็เป็นหนึ่งในหลายครอบครัวที่อยู่บนขบวนรถไฟนับเป็น กี่เที่ยวต่อกี่เที่ยว ที่ถูกถอดรางออกไม่ว่าจะเป็นขบวนขาขึ้นหรือขาล่อง เพื่อที่คนจะได้บุกเข้าไปทำร้ายข่มขืนฆ่าผู้โดยสาร เพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามของตัวเองในประเทศที่ถูกแบ่งแยกออกป็นสองฝ่าย สำหรับผู้คนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การก่อสร้างทางรถไฟสายหนึ่งเรียกกันว่า ทางรถไฟสายมรณะ เป็นคำที่ใช้กันในแบบเรียนในโรงเรียน อ้างถึงกองทัพญี่ปุ่นที่ใช้งานจากกำลังของเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ สอง เหตุการณ์นี้ถูกจำลองขึ้นมาเป็นภาพยนตร์เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่สร้างขึ้นเมื่อปี ๑๙๕๗

งานวิศวกรรมในการเชื่อมต่อกันทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้นและยังผลต่อมนุษยชาตินับล้านๆคนนี้ เป็นตัวการที่เชื่อมเขตพื้นที่ของคนที่หนึ่งโยงเข้ากับพื้นที่ของคนที่อยู่ อีกที่หนึ่ง และเชื่อมเขตแดนโนแมนส์แลนด์ที่ไม่ใช่เป็นเขตของคนให้เชื่อมโยงเข้ากับ เขตแดนของคน เมื่อก่อนนี้ก็เป็นรถไฟ เดี๋ยวนี้ก็ต้องเป็นเครื่องบิน เครื่องนำวิถีสำรวจโลกทางดาวเทียมที่เรียกกันว่า GPS เป็นการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม และท้ายที่สุดก็เป็นอินเตอร์เน็ตที่ทำการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ แล้วใครกันล่ะที่คือ คาวบอยรุ่นใหม่ อนาร์คิส อินเดียนแดง หรือพวกทหารม้าอเมริกันที่กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ที่พูดถึงกันอยู่นี้

เราลองมาดูผลงานอันชาญฉลาดที่ชื่อว่า เลือดและทราย โดยผู้ที่ใช้สมญานาม อาเทลิเยร์ ธิงส์แมธเทอร์ ในงานนี้ขอบฟ้าของพรมแดนอีเล็คทรอนิกจะปรากฏร่องรอยให้เห็นเหมือนภาพลวงตา เป็นแต้มๆไกลออกไปใน ตอนแรกรอยแต้มสีนี้จะมองดูเหมือนงานนามธรรมมองเห็นอยู่อย่างเลือนลาง ครู่ต่อมารอยแต้มสีนี้กลับค่อยๆปรากฏชัดขึ้นมากลายเป็นภาพรายงานข่าวประจำ วันทางสถานี ซี เอ็น เอ็น ที่เลือกคัดเอามาแต่เฉพาะบางวัน มีผู้ประกาศข่าว คริสเตียน อมาปูร์ นำเสนออยู่ในทุกฉาก ผู้ประกาศข่าวสาวชื่อดังผู้นี้มีหน้าที่รายงานข่าวสงครามที่เกิดขึ้นทุกวัน รอบโลก การเดินทางนี้สิ้นสุดลงสั้นๆ ที่ทิ้งท้ายให้ประสาทความรับรู้ของเรายังรู้สึกเหมือนถูกปลุกกระตุ้นอยู่ ผลงาน เลือดและทราย นี้สร้างให้เห็นความคิดของ โนแมนส์แลนด์ ที่มีชั้นมีเชิงของความหมายหลายซับหลายซ้อน (เป็นปรากฎการณ์เรื่องการรับรู้สัมผัสของผู้คนที่สานสายโยงใยกันได้ การออกแบบสำหรับการสื่อสาร ความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม บทบาทของเพศที่แตกต่างกัน การเมืองในแวดวงข่าวสาร เทคนิคของการถ่ายทำวิดีโอ และแฟชั่น…จาก ถ้อยแถลงของศิลปิน)

เมื่อตอนที่คาวบอยเท็กซัสนาม เทด เทอร์เนอร์ เริ่มก่อตั้งสถานีข่าว ซี เอ็นเอ็นขึ้นมาในปี ๑๙๘๐ นั้น เขาถูกมองว่าเป็นผู้บุกเบิก เป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ เป็นความสำเร็จอันหนึ่งของคนอเมริกัน ปรากฏการณ์ในการคิดค้นครั้งนี้ ได้เปิดปราการ ทำลายกรอบจำกัด ลดความแตกต่างของเงื่อนไขทางสังคมและทางวัฒนธรรมออกไป และคอยหล่อเลี้ยงไฟจินตนาการของผู้คนไม่ให้หยุดค้นหาเขตแดนที่ยังคงมีให้ถูก ค้นพบได้อีก และอีกต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วผู้ที่ทำบทบาทผู้ค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่นี้จะ ลงเอยด้วยการกลายเป็นผู้บุกรุกไป เพราะถึงอย่างไรก็จะต้องมีพวกที่อยู่มาก่อนแล้วรออยู่ที่ฝั่งตรงข้ามอยู่ แล้วร่ำไป ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปการณ์ทางกายภาพหรือจะรูปแบบประสพการณ์ทางจิต

ผู้เข้าร่วมโครงการณ์ วูแมนนิเฟสโต ถ้อยแถลงหญิง ครั้งที่ห้าครั้งนี้ ต่างก็ตีความหมายของโนแมนส์แลนด์ออกมากันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะแยกแยะออกมาได้คร่าวๆเป็นกลุ่มใหญ่ๆดังต่อไปนี้คือ

โนแมนส์แลนด์ที่เป็นการยกตัวอย่างเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จากประเทศที่มีอยู่ หรือดินแดน หรือพื้นที่ที่ต่อระหว่างประเทศ โนแมนส์แลนด์แบบการเมือง เช่น กำแพงเบอร์ลิน (จอห์น ฮอพกินส์, คาร์ลา ซาชเซ, ซูซาน อาห์เนอร์)พรมแดนไทย-พม่า (เพรฟเวทท์ กับ แม็คอาร์เทอร์) ดินแดนเขตยึดครองของอิสราเอลในปาเลสไตน์ (ออร์ลีย์ ดาฮาน) ดินแดนแคชเมียร์ (แคช กาเบรียลเลอ ทอร์เซลโล) อินเดีย (เทจาล ชาห์) ดินแดนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำยั่งจื้อหรือ แยงซี (เจอโรม มิง) ยูโกสลาเวียเก่า (เรอนัทตา โปลจาค)

จากมุมมองจากชีวิตจริง (เอสเตลล์ โคเฮ็นนีย์-วาลเลอร์ โมนา เบอรร์ ไอรีน ลืง) การค้นพบโนแมนส์แลนด์ ในวิถีชีวิตของแต่ละวันหรือ จากภูมิประเทศ ดังที่ดอริส ฮินเซ่น-โรห์ริก ประกาศในบทความเกี่ยวกับงานของเธอว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อจู่ๆเราก็รู้ว่ามีอาณาจักรอื่นอีกที่อยู่ตรงนีด้วยเหมือน กัน เมื่อเราค้นพบสิ่งใหม่ที่ก็อยู่ตรงนี้มาโดยตลอดแต่ก่อนหน้านี้เราไม่เคยรับ รู้เลยว่ามี (อันนา บิลานคอฟ, แอนดรู เบอรเรล, ทรัพที พาเทล, วาร์ชา แนร์, เวน เยา, แพทริเซีย รีด และ ซารา ฮาค)

อาณาจักรของสัตว์ อาณาจักรของสัตว์ที่คนสร้างขึ้น อาณาจักรสัตว์ที่อยู่ในใจคน (มานิช ศรีวานิชภูมิ, ชือ ซูเชน) การใช้สื่อเป็นการแทนความหมายของโนแมนส์แลนด์เสียเอง (นอร์ เอฟเฟนดี อิบราฮิม-โดยใช้งานละคร, ลาวัณ จิระสุรเดช-โดยการใช้หนัง ๑๖ มม.)

การสร้างงานในมุมกลับแบบมองจากเงาที่สะท้อนกระจกออกมา เช่นโนแมนส์แลนด์สะท้อนกับแมนส์แลนด์ ในอาณาจักรแมนส์แลนด์ที่ว่านี้ มองเห็นหน้าต่างบานหนึ่งที่เปิดออกมามีหญิงสูงอายุประกาศว่า พระราชาประสูติแล้ว (เรอนัทตา โปลจาค) จากการกระพริบตา (มาร์เคธา แบงโควา) หรือใช้การเปรียบเทียบแบบขัดแย้ง เช่นการนำเอาผู้หญิงมาใช้โดยการเกณฑ์เข้ามาในกองทหารเพื่อมาเป็นทาษบำเรอกาม ในกองทัพ (โยชิโกะ ชิมาดะ) ในงานของ ดรากานา ซาเรวัค ชื่อ เรดาร์พียูร์ ผู้หญิงกลายเป็นเครื่องเรดาร์ควบคุมอากาศในดินแดนของผู้ชาย อาณาจักรที่ซึ่งผู้ชายหลงงัวงมอยู่กับอำนาจอันทรงพลังของเครื่องจักรที่ล้น เกินขนาดของความจำเป็นในชิวิตประจำวัน โนแมนส์แลนด์ แบบที่อ้างถึงเขตแดนลิมโบที่ซึ่งอยู่กึ่งๆอยู่ตรงกลางระหว่างห้วงสวรรค์และ นรก โดย ลิเลียน ซูมเคมิ (โปรดทราบ-สำนักวาติกันกำลังพยายามผลักดันให้มีการห้ามใช้คำว่าลิมโบไม่ให้ มีในศาสนาคาธอริกอีกต่อไป ในอนาคตคำๆนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในงานศิลปและวรรณคดีเท่านั้น)

โนแมนส์แลนด์ ในอาณาจักรทางศาสนา (เชน โซลานคี) ที่สภาวะมหัศจรรย์เหนือจริงเป็นเขตแดนโนแมนส์แลนด์ ในที่นี้เป็นการเดินได้บนผิวน้ำ

สำหรับดิฉัน เมื่อได้ยินคำว่าโนแมนส์แลนด์ สิ่งแรกที่นึกขึ้นมาก็คือ ห้วงอาณาจักรทางเสียง (หน้าเกริ่นนำบนเวบเพจ ของโนแมนส์แลนด์ ใช้คำโนแมนส์แลนด์ นำมาแตกออกเป็นหน่วยเสียงเล็กๆที่ละหน่วยประกอบกัย) ในงานบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์แห่งเสียง ที่ดิฉันเขียนขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๐ ดิฉันเขียนถึงปรากฎการณ์ทางเสียงหลายๆรูปแบบ และความเป็นไปได้ที่เสียงจะกลายเป็นโครงสร้างในการประกอบกันเป็นพื้นที่

โจดี เบอร์แลนด์ อธิบายเรื่องการกระจายเสียงในปัจจุบันนี้ เธอตั้งข้อสังเกตุว่า เสียงก็เป็นเหมือนกันกับดนตรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในส่วนประกอบที่สร้างขึ้นมาเป็นพื้นที่ได้ หรือจะให้ชี้ชัดไปยิ่งกว่านั้นก็คือ เสียงเป็นตัวการกำหนดอาณาเขตของพื้นที่มานานก่อนที่จะมีการใช้รั้วปักหลัก กันเขตเสียด้วยซ้ำ

ปรากฎการณ์อันเกี่ยวเนื่องกับเสียง ทั้งหลายจะจับจองที่อยู่ในเนื้อที่แค่ช่วงระยะสั้นๆ เป็นห้วงๆ มีคำนิยามจำกัดความ แล้วกลายความหมายจากคำนิยามนั้นไป หรืออาจจะหักล้างคำนิยามตัวเองเอง และไม่มีสิทธิ์จะมี คำนิยาม ที่จำกัดความแน่นอนตายตัวได้เลย คนที่จะทำหน้าที่รับข้อมูล คือผู้อ่านหรือผู้รับฟังต่างหากที่จะเป็นส่วนของการสร้างข่าวสารข้อมูลตรง นั้นให้เกิดขึ้นจริงๆ แล้วถึงจะเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างที่ประกอบกันเป็นพื้นที่ ด้วยเหตุนี้สิ่งที่มีแนวโน้มที่จะสามารถเข้าไปผนวกอยู่ในโครงสร้างที่ประกอบ กันเป็นพื้นที่ นี้จึงมีมหาศาล และยังเพิ่มต่อยอดไปได้ยาวไกลกว่าขอบเขตของเสียง เพราะผนวกรวมไปถึงเนื้อที่ทางปรัชญา ทางการเมืองและทางสังคมไปได้อีก อินเตอร์เน็ตก็มีจุดที่อยู่ในโครงสร้างที่ประกอบกันเป็นพื้นที่ ที่อย่างน่าค้นหาและจับตามอง ซึ่งขานรับจุดที่นำมาใช้ด้านการปฏิบัติการสร้างและประกอบโครงสร้างพื้นที่ ได้ ดังนั้นเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลจึงไม่ใช่ทั้งคำตอบหรือทางออกที่ชี้ชะตา หากเพียงแต่เป็นกลไกเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นอุบายอย่างหนึ่ง

งานอีกสองโครงการณ์ที่น่าสนใจคืองาน หมาน้อยรักชาติ ของ แคธรีน โอลสตัน และ ซู ฮัดยู ในงานศิลปะสื่อแสดง ผู้แสดงทำท่าเป็นสุนัขสวมชุดธงชาติและส่งเสียงเห่า วู๊ฟๆ และงาน ฤดูหนาว โดย แทร์รีย์ แบร์โควิทซ์ นำเสนอแค่ฉากวันหนึ่งในฤดูหนาวของนครนิวยอร์ค เบื้องหลังของภาพฉายให้เห็นยอดตึกประดับด้วยธงชาติอเมริกา บนแผ่นฟิล์มเราได้ยินเสียงของศิลปินกับด็กคนหนึ่งร่วมกันร้องเพลงชาติ ก๊อดเบลสอเมริกา แบบหลงทำนองอย่างสุดๆ เมื่อเล่นเพลงไปกล้องก็ค่อยๆปรับโฟกัสไปที่ธงชาติอเมริกาดึงให้เข้ามาอยู่ ตรงจุดศูนย์กลางของภาพก่อนที่จะจบไปในที่สุด

งานวิดิทัศน์ทั้งสองชุดนี้รู้สึกได้ว่าเป็นงานเชิงประท้วง ในส่วนที่เป็นการประท้วงนั้นก็เกิดจากผลที่เขานำศาสตร์ของการเลียนเสียงเอา มาใช้ การเลียนเสียงหมาในการแสดงชุดที่ใช้ลูกสุนัข และการร้องเพลงเสียงหลงในผลงาน ฤดูหนาว การสร้างหรือทำเสียงนี้เป็นการแปลเสียงให้ออกมาเป็นคำพูดในภาษาคน การแปลความนึกคิดกับความรู้สึกของคนออกมาเป็นรูปของเสียง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมอันน่าพิศวงของมนุษย์เลยทีเดียวที่ต้องใช้ความ รู้สึกนึกคิดแบบเด็กแต่ใช้ระดับสติปัญญาของผู้ใหญ่ ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์แขนงหนึ่งเชื่อว่าการเลียนเสียงนี้เป็นต้นกำเนิดของภาษา การเลียนเสียงดึงให้เราหวนกลับไปสู่ความรู้สึกแบบขั้นมูลฐาน และย้อนกลับไปสู่ภาวะความคิดที่สรรหาคำพูดมาแทนไม่ได้ แต่ถ้ามองไปอีกทีเวลาที่เราร้องเพลงด้วยเสียงที่หลงทำนองนั้นกลายเป็นสิ่ง ที่ไม่ซ้ำใครและไม่มีใครเหมือนอีกด้วย ทำนองเพลงนั้นมักจะถูกสร้างเพื่อมากำหนดวัดความสามารถของมนุษย์ที่จะรับสาร ในบทดนตรีของนักประพันธ์เพลงได้ นั่นก็หมายถึงมีความสามารถในการสื่อสารกัน ดังนั้นเมื่อเสียงออกมาผิดคีย์ เสียงที่ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากมนุษย์ ก็ ล่องลอยไปเรื่อยๆเพื่อหาที่ไป สภาวะนี้เหมือนกับเป็นพื้นที่ในดินแดนลิมโบของเสียงคือไม่อยู่ตรงใดตรงหนึ่ง อาณาจักรนี้มนุษย์ยังเข้าไปค้นหาหรือจำกัดความให้ไม่ได้ แต่กระนั้นกลับเป็นแหล่งที่มีแนวโน้มที่เอื้อให้เกิดงานสร้างสรรค์ได้อีก มากมาย ศิลปินทั้งสองได้ค้นพบประโยชน์ในการนำมาเป็นเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง เป็นทั้งผลงานที่ท้าทายทางศิลปะและทำให้เกิดความรู้สึกปลาบปลื้มเต็มอิ่มไป ด้วยในขณะเดียวกัน

ศิลปินและนักเขียนจะต้องเป็นผู้ค้นหาโนแมนส์แแลนด์ ทั้งทางภูมิภาพหรือทางรูปการณ์จินตภาพ และคิดสรรหาวิธีการและเป้าหมายที่จะนำมาใช้ หรือพยายามสร้างสรรค์หรือก่อสร้างความเชื่อมโยงพื้นที่ดินแดนโนแมนส์แลนด์ ของคนหนึ่งให้ต่อเนื่องกับดินแดนโนแมนส์แลนด์ ของอีกคนหนื่งกันต่อไป และจะต้องพยายามกันต่อไปเรื่อยๆถึงแม้ว่าโครงการณ์นี้จะจบลงไปแล้วก็ตาม มิฉะนั้นแล้วจะมีใครกันที่จะเป็นผู้เก็บตกเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิด ขึ้นกับมวลมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นๆอันเนื่องจากการพยายามที่จะเข้าไปค้นหา เชื่อมโยงสัมผัสกับดินแดนตรงจุดนี้กัน

[1]“Settlers, Indians, and the Cavalry, or: How to Subvert Electronic Identities”, Oliver Marchart, ZKP3@Metaforum
[2] จากเวบบอร์ด วูแมนนิเฟสโต ๑๘/๐๗/๐๖
[3] จากเวบบอร์ด วูแมนนิเฟสโต ๑๘/๐๗/๐๖
[4] จากเวบบอร์ด วูแมนนิเฟสโต ๑๗/๐๗/๐๖
[5] “History Acoustic” พิมพ์ครั้งแรกในสูจิบัตรนิทรรศการ “The End of the World?”2000, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงปราก Prague, และ พิมพ์อีกหนังสื่อ in “Konecna Krajina”, One Woman Press, 2004